Macbook ไม่อ่าน external harddisk

อย่าเพิ่งตกใจ หากคุณพบว่าฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก (external hard drive) ของคุณ แสดงสถานะ 'อ่านได้อย่างเดียว' (read only) บน Mac บทความนี้จะแนะนำวิธีที่เชื่อถือได้ 3 วิธี ที่สามารถช่วยคุณแก้ไขข้อผิดพลาดของปัญหา เพื่อให้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกของคุณ สามารถกลับมา 'อ่าน-เขียน' (Read-Write) ได้อีกครั้ง คุณสามารเลือกวิธีใดๆด้านล่างเพื่อแก้ไขให้อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึงได้โดยไม่สูญเสียข้อมูลใด :

แนวทางแก้ปัญหา ขั้นตอนแก้ไขปัญหา
วิธีที่ 1. ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก เปิด "Applications" > "Utilities" > เรียกใช้งาน "Disk Utility" และ "Erase" external drive > Restore formatted data...ขั้นตอนเพิ่มเต็ม
วิธีที่ 2. ละเว้นการใช้ข้อกำหนดสิทธิ (Ignore Permissions) คลิกขวาที่ อุปกรณ์ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก (external drive) > "Get Info" > "Sharing & Permissions" > คลิก "Ignore ownership on..."...ขั้นตอนเพิ่มเต็ม
วิธีที่ 3. ซ่อมข้อผิดพลาดของไดรฟ์ เปิด Disk Utility > เลือก อุปกรณ์ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก (external hard drive) แล้ว คลิก "First Aid" > Click "Run"...ขั้นตอนเพิ่มเต็ม

ช่วยด้วย! ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกแสดงสถานะเป็น 'อ่านได้อย่างเดียว' บน Mac

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

"คุณรู้วิธีแก้ไขฮาร์ดไดรฟ์ให้สามารถเข้าใช้งานได้อีกครั้ง หลังเกิดปัญหา และแสดงสถานะเป็น 'อ่านได้อย่าง' (read only) บน Mac หรือไม่? ผมมีปัญหานี้ คือ ฮาร์ดไดรฟ์ Seagate ของผมเปลี่ยนเป็นแบบอ่านอย่างเดียว เมื่อผมเชื่อมต่อกับ Mac ผมสามารถอ่านและดูข้อมูลที่บันทึกไว้ในไดรฟ์เท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ข้อมูลบนไดรฟ์ได้ (ไม่สามารถเขียนข้อมูลได้) หากคุณมีวิธีแก้ไขปัญหานี้โปรดบอกผมด้วย ขอบคุณมาก ๆ."

ให้คลิกขวาที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกของคุณ เลือก 'Get Info' และถ้าคุณเห็นสถานะ 'You can only read' ด้านล่าง และหากคุณเห็น 'คุณสามารถอ่านได้อย่างเดียว' ที่ด้านล่างแสดงว่าคุณกำลังพบปัญหาที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งกับฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก เมื่อฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกของคุณหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกอื่น ๆ แสดงสถานะเป็น 'อ่านอย่างเดียว' ('Read Only') บน Mac ของคุณ คุณสามารถ:

  • เปิดไดรฟ์และเปิดดูไฟล์ต่างๆได้
  • คัดลอกไฟล์ต่างๆ (copy files) จากไดรฟ์จัดเก็บภายนอก ออกมาได้

แต่คุณจะไม่สามารถ

  • ไม่สามาถสำเนาไฟล์ต่างๆ ไปยัง ไดรฟ์จัดเก็บภายนอกได้ (ไปยังไดรฟ์ที่เกิดปัญหา)
  • ไม่สามารถลบไฟล์ต่างๆจาก ไดรฟ์จัดเก็บภายนอกได้

เพราะเหตุใด ไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกของคุณ เกิดปัญหา 'อ่านได้อย่างเดียว' (Read only) บน Mac

เหตุใดเมื่อเชื่อมต่อฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก กับ เครื่อง Mac แล้ว คุณสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว เราพบว่าสาเหตุที่เป็นไปได้มี 3 ประการ

ปัญหาจาระบไฟล์เป็นแบบ NTFS

คลิกขวาที่ฮาร์ดดิสก์ของคุณแล้วเลือก 'Get Info' หากคุณพบฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกมีไฟล์เป็น NTFS นั่นคือสาเหตุหลักจากความไม่เข้ากันของระบบไฟล์เป็นต้นเหตุ เนื่องจาก NTFS เป็นระบบไฟล์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows แม้ว่าระบบปฏิบัติการ Mac จะอนุญาตให้คุณอ่านไฟล์ในฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก แต่คุณไม่สามารถเขียนไฟล์กลับไปได้เนื่องจากวิธีที่ NTFS เขียนข้อมูลไปยังอุปกรณ์นั้นไม่เข้ากันกับวิธีที่ macOS ทำ (วิธีแก้ปัญหา.)

ปัญหาจากการตั้งค่าสิทธิ Permission

เมื่อเชื่อมต่อฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกเข้ากับ Mac ระบบ OS X จะเข้าควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดในฮาร์ดไดรฟ์ ถ้าคุณใช้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่มีระบบปฏิบัติการอื่นมาก่อน เมื่อนำอุปกรณ์กลับมาเชื่อมต่อกับ Mac การตั้งค่าการอนุญาต(สิทธิ์) กับ อุปกรณ์นั้นอาจไม่ได้รับการยอมรับ หรือ ถูกป้องกันการเข้าถึงไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ (วิธีแก้ปัญหา.)

ฮาร์ดไดรฟ์มีข้อผิดพลาดในการจัดฟอร์แมต

อีกสาเหตุที่พบบ่อยสำหรับปัญหาฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก 'อ่านได้อย่างเดียว' (Read only) บน Mac คือข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบ(formatting errors)ของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเอง หากคุณเห็นคำเตือนที่ระบุว่าอุปกรณ์กำลังต่อในโหมดอ่านเท่านั้น (read only) เกิดจากขณะเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ของคุณจะได้รับการวินิจฉัยว่ามีข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบ(formatting errors)ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถเขียนไฟล์ลงไปได้ (วิธีแก้ปัญหา.)

หาสาเหตุที่นำไปสู่ข้อผิดพลาด 'อ่านเท่านั้น' (read only) บน Mac ของคุณจากข้อมูลด้านบน จากนั้นทำตามแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดาย

คุณจะแก้ปัญหาฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกมีสถานะ 'อ่านได้อย่างเดียว' (read only) บน Mac ของคุณได้อย่างไร

การแก้ปัญหามี 3 วิธี ขั้นตอนแตกต่างกันตามสาเหตุของปัญหา

1:วิธีแก้ไขโดย ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกใหม่

หากสาเหตุของปัญหาเกิดจากระบบไฟล์ NTFS คุณสามารถแก้ไขได้โดยฟอร์แมตอุปกรณ์ใหม่เป็นรูปแบบระบบไฟล์ที่เข้ากันได้กับ Mac ด้วยเครื่องมือ Mac Disk Utility แต่ก่อนทำการฟอร์แมตอุปกรณ์ใหม่ ต้องไม่ลืมสำรองข้อมูลฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกของคุณอย่างรวดเร็วด้วยโปรแกรมการสำรองข้อมูล เนื่องจากการฟอร์แมตและจัดรูปแบบไฟล์ใหม่จะลบไฟล์ทั้งหมดในอุปกรณ์

ขั้นตอนที่ 1: เปิด "Disk Utility"

  • ไปที่ "Applications"> "Utilities"
  • หรือกดปุ่ม "Command + Space" แล้วพิมพ์ Disk Utility.

ขั้นตอนที่ 2: เลือกฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่มีปัญหา ในรายการไดรฟ์ที่แสดงอยู่ทางด้านซ้าย จากนั้นคลิกตัวเลือก "Erase" ในหน้าต่างหลัก

ขั้นตอนที่ 3: เลือกระบบไฟล์ที่เหมาะสมและเปลี่ยนชื่อฮาร์ดดิสก์ของคุณ (ทั้งระบบไฟล์ APFS และ Mac OS Extended เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของ Mac ดังนั้นหากคุณต้องการให้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกของคุณรองรับการใช้งานทั้ง Mac และ PC ให้เลือก MS-DOS หรือที่เรียกว่า FAT หรือ ExFAT แทน)

ขั้นตอนที่ 4: คลิกปุ่ม "Erase" เพื่อเริ่มฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกของคุณ

รอให้กระบวนการฟอร์แมตเสร็จสิ้น จากนั้นไปที่หน้าต่างข้อมูล คราวนี้คุณจะเห็นข้อความเดิม "You can only read " เปลี่ยนเป็น "You can read and write" ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถอ่านและเขียนไดรฟ์บน Mac ของคุณได้ ตามปกติ

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

โดยปกติเมื่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแสดงสถานะว่า 'อ่านได้อย่างเดียว' (read only) คุณยังคงคัดลอกไฟล์ (copy) จากอุปกรณ์ดังกล่าวได้ หากคุณไม่สามารถดู หรือ เห็นข้อมูลที่บันทึกไว้ทั้งหมดในไดรฟ์ ก็อย่าเพิ่งกังวล เพราะหลังจากฟอร์แมต(format) ใหม่แล้ว คุณสามารถใช้เครื่องมือกู้คืนฮาร์ดไดรฟ์ระดับมืออาชีพ บน Mac - EaseUS Data Recovery Wizard สำหรับ Mac เพื่อเรียกคืนข้อมูลที่สูญหายไปในไดรฟ์กลับมาด้วยการคลิกง่ายๆไม่กี่คลิก:

 ดาวน์โหลดสำหรับ Mac ดาวน์โหลดสำหรับพีซี

ขั้นตอนที่ 1. เลือกตำแหน่งที่ข้อมูลและไฟล์สำคัญที่ถูกลบ แล้วคลิกปุ่ม "Scan"(สแกน)

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

ขั้นตอนที่ 2. แอปจะใช้ทั้งการสแกนอย่างรวดเร็วและการสแกนแบบลึก และทำงานอย่างหนักเพื่อค้นหาไฟล์ที่ถูกลบให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในไดรฟ์ข้อมูลที่เลือก

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

ขั้นตอนที่ 3. ผลการสแกนจะแสดงในหน้าต่างด้านซ้าย เพียงแค่เลือกไฟล์และคลิกปุ่ม "Recover Now"(กู้คืนทันที) เพื่อนำกลับมา

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

2:วิธีแก้ไขโดย ละเว้นการควบคุมสิทธิ์ (Ignore Permissions)

หากคุณแน่ใจว่าปัญหาเกิดจากการตั้งค่าสิทธิ์ คุณสามารถสั่งละเว้นการควบคุมสิทธิ์ (Ignore Permissions) เพื่อแก้ปัญหาฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก 'อ่านอย่างเดียว' (read only) บน Mac ของคุณ

ขั้นตอนที่ 1: คลิกขวา บนฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่แสดงอยู่บนหน้าจอ แล้ว เลือก "Get Info"

ขั้นตอนที่ 2: ขยายส่วน "Sharing & Permissions จากนั้นคลิกที่ 'lock' เพื่อตรวจสอบสิทธิ์

ขั้นตอนที่ 3: คลิก "Ignore ownership on this volume".

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

3: วิธีแก้ไขโดย ตรวจสอบและซ่อมข้อผิดพลาดของฮาร์ดไดรฟ์

หากข้อผิดพลาดในการฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก ทำให้อุปกรณ์แสดงสถานะ ‘อ่านอย่างเดียว’ (read only) คุณสามารถใช้ยูทิลิตี้ดิสก์เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาดและซ่อมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกนั้นได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: เรียกใช้ "Disk Utility".

  • ไปที่ "Applications"> "Utilities"
  • หรือ กดปุ่ม "Command + Space" และ พิมพ์ Disk Utility.

ขั้นตอนที่ 2: เลือกฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่ ‘read onlyว’ (อ่านอย่างเดีย) คลิก 'First Aid' ที่ตรงกลางด้านบนจากนั้นคลิก "Run"

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

Last updated: 20 ต.ค. 2564  |  96796 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

“วิธีทำให้ Hard disk ใช้ได้ทั้งใน PCs และ MAC”

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

หนึ่งปัญหาของคนใช้งานคอมพิวเตอร์ก็คือการใช้ Hard disk ร่วมกับระบบปฏิบัติการทั้ง Windows และ MacOS กล่าวง่ายๆก็คือมีการใช้งานทั้งกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows และ Mac นั่นเอง แต่บ่อยครั้งที่เราเจอปัญหาว่า Hard disk ของเรานั้นไม่สามารถคัดลอกข้อมูลลงบน Hard disk ได้เมื่อเราทำการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mac  

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า Format ของ Hard disk ที่เราใช้อยู่นั้น อาจจะเป็น Format ที่ไม่รอรับการเขียนข้อมูลลงบน Hard disk เมื่ออยู่บน MacOS เช่น อาจจะอยู่บน Format NTFS

สิ่งที่เราจะต้องทำนั่นก็คือ ทำการ Format Hard disk ลูกนั้นใหม่ เพื่อตั้งค่า Format ให้สาามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows และ MacOS โดยหากเป็น Hard disk ที่มีข้อมูลอยู่ ก็ให้ทำการ Backup ข้อมูลนั้น ไปเก็บไว้ที่อื่นก่อน เพื่อเตรียมดำเนินการ Format Hard disk

เมื่อทำการ Backup ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการเชื่อต่อ Hard disk ลูกนั้น เข้ากับเครื่อง MAC ของคุณ

Macbook ไม่อ่าน external harddisk

โดยเข้าไปที่ Finder แล้วเลือก Application > Utilities > Disk Utility จากนั้นให้ทำการเลือก Hard disk ลูกที่ต้องการ Format ด้านซ้ายมือ แล้วเลือกที่เมนู Erase จากนั้นในหัวข้อ Format ให้เลือกเป็น exFAT และเลือกที่ปุ่ม Erase

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ Format เพียงเท่านี้ในการเชื่อมต่อครั้งต่อไปคุณก็จะสามารถใช้ Hard disk ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ MacOS

โดย Format ประเภทต่างๆบน MacOS นั้น พอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้

1.    exFAT เหมาะสำหรับการใช้งานทั้ง Windows และ MacOS


2.    FAT เหมาะกับการใช้งานบน Window สำหรับ Hard disk และ Flash drive ขนาดเล็ก
3.    Mac OS Extended เหมาะกับการใช้งานสำหรับ mac เท่านั้น
4.    NTFS หรือ Windows NT Filesystem เหมาะสำหรับระบบ Windows และ Server

หมายเหตุ : หากทำการ Format บน Windows ก็ให้ทำการเลือกประเภทเป็น ExFAT เช่นกัน



ทั้งนี้ หากท่านมี hard disk เสียและต้องการข้อมูลคืน ท่านก็สามารถปรึกษาเราได้ฟรี

ติดต่อเราที่ IDR LAB ศูนย์กู้ข้อมูลที่ได้มาตรฐานและพร้อมที่สุดในประเทศไทย ปรึกษาปัญหาและส่งตรวจเช็ค ประเมินอาการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ Line ID : @idrlab หรือ Hotline สายด่วนตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 094-692-8080, 080-591-3536

+ เพราะเราคือศูนย์กู้ข้อมูลที่มีมาตรฐาน ISO พร้อมด้วยทีมงานระดับมืออาชีพ ปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหล


+ หมดความกังวลเรื่องข้อมูลหาย ประเมิณค่าใช้จ่ายฟรี
+ ผู้นำด้านเทคโนโลยี Labดีมีมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ
+ อย่าหมดความหวังในวันที่ข้อมูลหาย ให้ IDR LAB บริการคุณ

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ชีวิตดิจิทัลของคุณกลับมามีความสุขดังเดิม”

Macbook ไม่อ่าน external harddisk